วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

จริยธรรมทางธุรกิจ



จริยธรรมทางธุรกิจ


ความหมายของจริยธรรม

“จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ

อลิสโตเติล




อลิสโตเติล กล่าวว่า พฤติกรรมที่เหมาะสม คือควรปฏิบัติตามกฎการเดินสายกลาง Golden mean of moderation) คือการไม่ทำอะไร สุดโต่ง เช่น ร่ำรวยเกินไป ยากจนเกินไป



ความหมายของจริยธรรมธุรกิจ


จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานคุณค่าแห่งความดีงามของการกระทำหนึ่งๆและหรือพฤติกรรมโดยรวม ธุรกิจ หมายถึง บุคคล นิติบุคคลหรือองค์กรใดๆที่ดำเนินการผลิตสินค้าบริการเพื่อผลตอบแทนในการลงทุน (กำไร) จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง มาตรฐานการผลิตสินค้าและการให้บริการเพื่อผลตอบแทนตามคุณค่าของการลงทุนโดยเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริโภค ผู้รับบริการ
รัฐบาล สังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจร่วมกัน



องค์ประกอบสำคัญของจริยธรรม

1.ความเฉลียวฉลาด (Wisdom)
2.ความกล้าหาญ (Courage)
3.ความรู้จักเพียงพอ ( Temperance)
4.ความยุติธรรม (Justice)
5.ความมีสติ (Conscience)



ประโยชน์ของจริยธรรมธุรกิจ

1.จริยธรรมก่อให้เกิดความมุ่งมั่นของพนักงานในองค์กร
2.จริยธรรมก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร
3.จริยธรรมก่อให้เกิดความมั่นใจของนักลงทุน
4.จริยธรรมก่อให้เกิดความสงบสุขของสังคม
5.จริยธรรมก่อให้เกิดความเจริญของประเทศชาติ



ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมธุรกิจ

1.เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
3.เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
4.เพื่อรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม



ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย

1.การบังคับใช้
2.เหตุแห่งการเกิด
3.บทลงโทษ
4.การยกย่องสรรเสริญ
5.เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน


โดยสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

1.การบังคับใช้
- กฎหมายเป็นสิ่งที่ผู้นำตั้งขึ้นตามความเหมาะสม จะปฎิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
- จริยธรรมขึ้นอยู่กับบุคคลอยู่ที่จิตใต้สำนึก ไม่บังคับใช้อยู่ที่ความสมัครใจ


2.เหตุแห่งการเกิด
- กฎหมายเกิดอย่างเป็นกระบวนการเป็นทางการสามารถเปลี่ยนตามสภาวะสังคม
- จริยธรรมเกิดจากพื้นฐานทางสังคมที่แท้จริงโดยอาศัยระยะเวลาในการยอมรับ


3.บทลงโทษ
- กฎหมายมีการกำหนดบทลงโทษไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
- จริยธรรมมีการกำหนดบทลงโทษแตกต่างกันไม่มีกำหนด


4.การยกย่องสรรเสริญ
- บุคคลที่สามารถปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎหมายได้ถือเป็นพลเมืองดี
- จริยธรรมต้องสั่งสมและต้องสร้างจากภายในออกสู่ภายนอก


5.เกณฑ์การใช้ในการตัดสิน
- หลักกฎหมายมีระบุชัดเจนเกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีผิด,ไม่ผิด
- จริยธรรมมีความยืดหยุ่นมากเกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีควรหรือไม่ควร

สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ สิ่งที่เป็นจริยธรรม ( Ethics ) นั้นจะมีความแตกต่างจาก กฎหมาย ( Law ) อยู่หลายประการ คือ

- สิ่งที่เป็นจริยธรรม ก่อเกิดจากภายในตัวของผู้กระทำเอง เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในระดับสูง การลงโทษก็เป็นการควบคุม
- ส่วนกฎหมายนั้น เป็นเรื่องของการบังคับให้ปฏิบัติ มิได้ก่อเกิดจากรากฐานภายในจิตใจ และ กฎหมายอาจเป็นดั่งบรรทัดฐาน ( Norms ) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งจริยธรรมและ กฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำให้สังคมนั้นดีจากสังคม ( Social sanction )
THE END