วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

จริยธรรมทางธุรกิจ



จริยธรรมทางธุรกิจ


ความหมายของจริยธรรม

“จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ

อลิสโตเติล




อลิสโตเติล กล่าวว่า พฤติกรรมที่เหมาะสม คือควรปฏิบัติตามกฎการเดินสายกลาง Golden mean of moderation) คือการไม่ทำอะไร สุดโต่ง เช่น ร่ำรวยเกินไป ยากจนเกินไป



ความหมายของจริยธรรมธุรกิจ


จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานคุณค่าแห่งความดีงามของการกระทำหนึ่งๆและหรือพฤติกรรมโดยรวม ธุรกิจ หมายถึง บุคคล นิติบุคคลหรือองค์กรใดๆที่ดำเนินการผลิตสินค้าบริการเพื่อผลตอบแทนในการลงทุน (กำไร) จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง มาตรฐานการผลิตสินค้าและการให้บริการเพื่อผลตอบแทนตามคุณค่าของการลงทุนโดยเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริโภค ผู้รับบริการ
รัฐบาล สังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจร่วมกัน



องค์ประกอบสำคัญของจริยธรรม

1.ความเฉลียวฉลาด (Wisdom)
2.ความกล้าหาญ (Courage)
3.ความรู้จักเพียงพอ ( Temperance)
4.ความยุติธรรม (Justice)
5.ความมีสติ (Conscience)



ประโยชน์ของจริยธรรมธุรกิจ

1.จริยธรรมก่อให้เกิดความมุ่งมั่นของพนักงานในองค์กร
2.จริยธรรมก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร
3.จริยธรรมก่อให้เกิดความมั่นใจของนักลงทุน
4.จริยธรรมก่อให้เกิดความสงบสุขของสังคม
5.จริยธรรมก่อให้เกิดความเจริญของประเทศชาติ



ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมธุรกิจ

1.เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
3.เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
4.เพื่อรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม



ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย

1.การบังคับใช้
2.เหตุแห่งการเกิด
3.บทลงโทษ
4.การยกย่องสรรเสริญ
5.เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน


โดยสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

1.การบังคับใช้
- กฎหมายเป็นสิ่งที่ผู้นำตั้งขึ้นตามความเหมาะสม จะปฎิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
- จริยธรรมขึ้นอยู่กับบุคคลอยู่ที่จิตใต้สำนึก ไม่บังคับใช้อยู่ที่ความสมัครใจ


2.เหตุแห่งการเกิด
- กฎหมายเกิดอย่างเป็นกระบวนการเป็นทางการสามารถเปลี่ยนตามสภาวะสังคม
- จริยธรรมเกิดจากพื้นฐานทางสังคมที่แท้จริงโดยอาศัยระยะเวลาในการยอมรับ


3.บทลงโทษ
- กฎหมายมีการกำหนดบทลงโทษไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
- จริยธรรมมีการกำหนดบทลงโทษแตกต่างกันไม่มีกำหนด


4.การยกย่องสรรเสริญ
- บุคคลที่สามารถปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎหมายได้ถือเป็นพลเมืองดี
- จริยธรรมต้องสั่งสมและต้องสร้างจากภายในออกสู่ภายนอก


5.เกณฑ์การใช้ในการตัดสิน
- หลักกฎหมายมีระบุชัดเจนเกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีผิด,ไม่ผิด
- จริยธรรมมีความยืดหยุ่นมากเกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีควรหรือไม่ควร

สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ สิ่งที่เป็นจริยธรรม ( Ethics ) นั้นจะมีความแตกต่างจาก กฎหมาย ( Law ) อยู่หลายประการ คือ

- สิ่งที่เป็นจริยธรรม ก่อเกิดจากภายในตัวของผู้กระทำเอง เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในระดับสูง การลงโทษก็เป็นการควบคุม
- ส่วนกฎหมายนั้น เป็นเรื่องของการบังคับให้ปฏิบัติ มิได้ก่อเกิดจากรากฐานภายในจิตใจ และ กฎหมายอาจเป็นดั่งบรรทัดฐาน ( Norms ) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งจริยธรรมและ กฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำให้สังคมนั้นดีจากสังคม ( Social sanction )
THE END

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ ว่า เเต่ ะธุรกิจ หรอก ค่ะ ที่ ต้อง มี จริยธรรม...

    ทุก หน่วยย งาน เลย เเหละ ค่ะ...ที่ ต้องมี จรรยาบรรณ


    ชอบ หัว ข้อ ที่ นำ เสนอ ค่ะ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาดีครับ แต่เยอะไปหน่อย

    ตอบลบ
  3. จริยธรรม ทุกอาชีต้องมี..........

    เนื้อหาดีๆคะ ^_^

    ตอบลบ